ไฝ หูด เกิดขึ้นได้ยังไง มีประเภทอะไรบ้าง?
ไฝ คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งของผิวหนัง เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) และเซลล์ไฝ (Nevus Cell) พบขึ้นได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด หรืออาจขึ้นเมื่อโตแล้วก็ได้ ลักษณะทั่วไปของไฝจะปรากฏเป็นวงกลมหรือวงรีขอบเรียบจุดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนสีอื่นๆ ที่สามารถพบได้ ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน ดำ แทน แดง ชมพู หรือน้ำเงิน พื้นผิวอาจเรียบ ขรุขระ แบน นูนขึ้นจากผิวหนัง หรือมีขนขึ้นบนไฝได้อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด มักมีขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 ซม.) ขอบเขตชัดไฝสามารถพบได้ทุกบริเวณของร่างกาย รวมถึงหนังศีรษะ รักแร้ มือ เท้า หรือแม้กระทั่งใต้เล็บโดยทั่วไปไฝมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่มีไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งไฝ (Melanoma) ซึ่งถือเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง อย่างเช่น
- สีของไฝไม่สม่ำเสมอกัน ไฝที่ปกติจะปรากฏเพียง 1 หรือ 2 สี แต่หากเป็นมะเร็งไฝ สีของไฝเม็ดนั้นจะมีเฉดสีแตกต่างกัน หรือมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม
- สีของไฝผิดปกติ มีหลายสีผสมกัน เช่น ครึ่งหนึ่งสีน้ำตาล อีกครึ่งหนึ่งสีดำ เป็นต้น
- ไฝมีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอหรือขอบของไฝไม่เรียบ แตกต่างจากไฝทั่วไปที่มีลักษณะกลม รี และมีขอบเรียบ
- รูปร่างลักษณะของไฝไม่สมมาตรกัน คือเมื่อแบ่งครึ่งแล้วไฝมีขนาดไม่เท่ากัน
- มีเลือดออกที่ไฝ หรือไฝมีแผ่นคล้ายเปลือกปกคลุมอยู่
- ไฝมีขนาดใหญ่กว่าปกติ คือใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
หูด หูดธรรมดา หรือหูดที่พบได้บ่อย (verruca vulgaris) คือ ตุ่มนูนผิวขรุขระและมีจุดเล็กสีดําในเนื้อหูด เกิดขึ้นได้ในร่างกายทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักขึ้นที่มือและนิ้วมือ สาเหตุหลักของหูดคือการสัมผัสกับเชื้อไวรัส HPV ซึ่งอาจใช้เวลาเพาะเชื้อถึง 6 เดือนกว่าที่จะแสดงอาการ โดยปกติแล้วหูดธรรมดานั้นไม่อันตรายแต่อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้หากไม่รักษา และติดต่อได้ผ่านการสัมผัส หูดสามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
- หูดธรรมดา (Common Warts) มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ มักจะเกิดหูดที่บริเวณใบหน้า ข้อศอก นิ้วมือ นิ้วเท้า และหัวเข่า สามารถเกิดขึ้นได้เพียง 1 ตุ่ม หรือหลายตุ่มในบริเวณเดียว
- หูดชนิดแบนราบ (Plane Warts, Flat Warts) ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ ลักษณะสีคล้ายผิวหนัง
- หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar Warts and Plantar Warts) มีลักษณะเป็นปื้นหนาแข็ง ผิวขรุขระ คล้ายตาปลา เมื่อยืน หรือเดิน จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ
- หูดที่อวัยวะเพศ (Condyloma Accuminata) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคหูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นตุ่มนูน สีชมพู หรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ แรกเริ่มเมื่อติดเชื้อจะแสดงออกเป็นรอยโรคเพียงเล็กน้อย และจะลุกลามขยายใหญ่จนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ มักจะพบที่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ
- หูดติ่งเนื้อ (Filiform Wart ) ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระ เป็นติ่งยื่นจากผิวหนัง แต่ไม่แข็งมากเหมือนกับหูดชนิดอื่นๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ
ติ่งเนื้อ ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นได้ยังไง มีประเภทอะไรบ้าง?
ติ่งเนื้อ (Acrochordon หรือ Skin tags) คือ เนื้องอกขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยเส้นเลือด เนื้อเยื่อผิวหนัง ทั้งหนังกำพร้า หนังแท้ เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมไปถึงพังผืด ส่วนสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อ ทางการแพทย์คาดว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามอายุของคนเรา โดยติ่งเนื้ออาจมีขนาดใหญ่ และมีจำนวนเพิ่มตามอายุของคนเรา การขยายของเซลล์ในชั้นผิวหนัง รวมไปถึงพันธุกรรมติ่งเนื้อจำแนกออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่ กับสาเหตุการเกิดและลักษณะของติ่งเนื้อที่พบ แบ่งกลุ่มได้ ดังนี้
- ติ่งเนื้อธรรมดา (Acrochordon)
ลักษณะติ่งเนื้อขนาดเล็ก นิ่ม และไม่มีอาการเจ็บ มักขึ้นบริเวณ คอ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ และเปลือกตา สาเหตุ เกิดจากการเสียดสีของผิวหนังกับเสื้อผ้าหรือการเสียดสีกันของผิวเอง ไม่เป็นอันตราย แต่หากเกิดการระคายเคืองสามารถกำจัดออกได้ - ติ่งเนื้อจากฮอร์โมน (Hormonal Skin Tags)
ลักษณะติ่งเนื้อขนาดเล็กถึงปานกลาง เกิดขึ้นในช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ตั้งครรภ์ หรือวัยทอง มักขึ้นบริเวณ รักแร้ คอ หรือขาหนีบ สาเหตุเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น เบาหวาน หรือ PCOS ไม่อันตราย แต่ควรเฝ้าระวังร่วมกับภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน - ติ่งเนื้อขนาดใหญ่ (Fibroepithelial Polyp)
ลักษณะมีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม. เนื้อแข็งกว่าและอาจมีก้านยื่นออกจากผิว มักขึ้นบริเวณ ใต้ราวนม ขาหนีบ หรือบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสี มักเกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อร่วมกับการเสียดสี อาจทำให้รู้สึกไม่สบายและต้องได้รับการกำจัดออก - ติ่งเนื้อบริเวณเปลือกตา (Eyelid Skin Tags)
ลักษณะติ่งเนื้อขนาดเล็กและนิ่ม เกิดบนหรือรอบเปลือกตา มักขึ้นบริเวณ บริเวณเปลือกตาบนหรือล่าง สาเหตุ การเสียดสีของผิวกับเปลือกตา หรือเกิดจากไขมันสะสม ไม่อันตราย แต่หากกีดขวางการมองเห็น ควรให้แพทย์กำจัดออก - ติ่งเนื้อที่มีภาวะอักเสบหรือบวม (Irritated Skin Tags)
ลักษณะติ่งเนื้อที่มีการบวมแดง หรือเจ็บเนื่องจากการเสียดสีบ่อยหรือการระคายเคือง มักขึ้นบริเวณ ขาหนีบ ใต้ราวนม หรือบริเวณที่สวมเสื้อผ้ารัดแน่น สาเหตุเกิดจาก การเสียดสีหรือการติดเชื้อเล็กน้อย หากมีการติดเชื้อควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา - ติ่งเนื้อร่วมกับภาวะผิวหนังอื่น (Nevus Lipomatosus)
ลักษณะติ่งเนื้อที่มีไขมันหรือเนื้อเยื่อส่วนเกินสะสม มักมีลักษณะนุ่มหรือเป็นปุ่มเล็ก ๆมักขึ้นบริเวณ หลัง คอ หรือลำตัว สาเหตุ เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันในผิวหนัง ไม่อันตราย แต่สามารถกำจัดออกได้
ขี้แมลงวัน คือโรคผิวหนังขนาดเล็กที่มักมีสีน้ำตาลหรือดำ เป็นผลมาจากกลุ่มเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ ที่มารวมตัวกันภายใต้ผิวหนังชั้นผิวกำพร้าจนเกิดเป็นกลุ่มสี ในบางครั้งเซลล์เมลาโนไซต์เหล่านี้ก็เติบโตเป็นกระจุกแทนที่จะกระจายตัวออกไปมีพื้นผิวที่ราบ ไม่ได้เป็นตุ่มหรือเนื้อที่งอกนูนออกมา แต่ถ้าสีเข้มขึ้นมาก ขอบเขตไม่เรียบอาจต้องตัดออก และส่งชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจดูว่าเป็นมะเร็ง (Lentigo Maligna)หรือไม่ถ้ารักษาเพื่อความสวยงาม ลักษณะของขี้แมลงวันที่ควรระวังจะมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นแล้ว เรารู้สึกว่าคัน และระคายเคืองผิวบริเวณนั้นบ่อย ๆ
- ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้น บริเวณใต้ร่มผ้า และบนศีรษะ เพราะเป็นบริเวณผิวหนัง ที่ขี้แมลงวันเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะฉะนั้น รีบไปพบแพทย์
- ขี้แมลงวันที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร เราจะถือว่า เป็นขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นมาแล้วมีความใหญ่ที่ผิดปกติ
CO2 Laser กำจัดกระเนื้อ ไฝ ขี้แมลงวันได้ไหม?
CO2 Laser เป็นเทคโนโลยีที่มีความยาวช่วงคลื่น 10,600 nm. ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ซับพลังงานกับน้ำมากที่สุด สามารถนำมาใช้ในการกำจัดกระเนื้อ ไฝ ขี้แมลงวัน ได้ดี
การทำงานของ CO2 Laser จะเป็นการปล่อยพลังงานความแม่นยำสูงไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาผ่านชั้นผิวหนัง ซึ่งน้ำในเซลล์ผิวจะดูดซับพลังงาน ทำให้เกิดความร้อนสูงในตำแหน่งที่รักษา จึงสามารถใช้ในการรักษารอยโรคได้ โดยหากจี้ลงตรงผิวหนัง เช่น ขี้แมลงวัน ไฝ ติ่งเนื้อ กระเนื้อต่าง ๆ จะเกิดการทำลายหรือเผาไหม้เนื้อเยื่อส่วนนั้นออก โดยไม่ทิ้งเขม่า และรอยดำของแผล ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น ไม่เกิดผลของเคียงจากการรักษา
CO2 Laser ใช้รักษาหลุมสิวและแผลเป็น ได้อย่างไร?
หลุมสิว (Atrophic Scars) คือ รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังจากการอักเสบของสิว หรือหลังสิวหาย เป็นผลมาจากการรักษาสิวไม่ถูกวิธีไม่รีบรักษา ทำให้เชื้อแบคทีเรียลุกลาม จนเกิดการอักเสบ ทำให้ผิวบริเวณที่ติดเชื้อเกิดการสลายตัวของคอลลาเจนและผิวเนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้ผิวยุบตัว เกิดเป็นพังผืดดึงรั้ง จนกลายเป็นหลุมสิว ด้วยนวัตกรรม fractional co2 laser เป็นเลเซอร์หลุมสิว ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาหลุมสิวโดยเฉพาะ ในการปล่อยคลื่นพลังงานขนาดเล็กมากลงลึกสู่เนื้อเยื่อในชั้นผิวหนังแท้ โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง มีการกระจายพลังงานออกมาในรูปแบบตารางได้ครอบคลุมบริเวณพื้นผิวที่ต้องการรักษา เพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพแล้ว เข้าไปกระตุ้นให้ผิวเกิดแผลในบริเวณที่ยิง เมื่อผิวเกิดเป็นแผลจะกระตุ้นกระบวนการผลัดเซลล์ผิว ทำให้ร่างกายสร้างผิวใหม่มาทดแทนผิวเดิม และเร่งการสร้างเส้นใยคอลลาเจน อิลาสตินใต้ผิวให้มีความยืดหยุ่น จึงช่วยให้หลุมสิวตื้น และผิวเรียบเนียนขึ้น

CO2 Laser เจ็บไหม? ใช้เวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?
โดยขั้นตอนการรักษาการรักษาด้วย CO2 laser จะมีการทายาชาถ้ารอยโรคที่มีขนาดใหญ่ หรือลึกอาจใช้การใช้ยาชาแทนเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการทำเลเซอร์เมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเริ่มทำการรักษา ระหว่างทำเลเซอร์มักจะไม่เจ็บ บางคนอาจรู้สึกได้น้อยมาก แต่หากรู้สึกเจ็บ หรือแสบร้อนผิวมาก ให้แจ้งคุณหมอทันที เมื่อทำการรักษาเสร็จ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4 – 6 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับมาทำเลเซอร์อีกครั้งได้
CO2 Laser กับเลเซอร์ชนิดอื่น แตกต่างกันอย่างไร?
ประเภทเลเซอร์ | คุณสมบัติการใช้งาน |
---|---|
Er: YAG Laser | มีความยาวคลื่น 2940 นาโนเมตร อยู่ในช่วง Mid-Infrared Laser ซึ่งเป็นช่วงความยามคลื่นมีความจำเพาะพิเศษที่จับโมเลกุลน้ำใต้ผิวได้ดี ทำให้สามารถผลัดเซลล์ผิวใหม่ที่ผิวชั้นบนโดยไม่เกิดอันตรายกับเนื้อเยื่อส่วนอื่นได้ในทุกสีผิวเป็นการแก้ปัญหาเรื่องหลุมสิวทำให้ผิวในบริเวณที่ทำการรักษานั้นให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น |
Co2 laser | ช่วยรักษาปัญหาหลุมสิว รอยดำหรือแก้ปัญหาส่วนเกินที่ไม่ต้องการไม่ว่าจะเป็นกระเนื้อ หรือติ่งเนื้อ เป็นต้น โดย Co2 Laser จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์( Co2) เป็นตัวกลางในการผลิตเลเซอร์ที่มีความยาวช่วงคลื่น 10,600 นาโนเมตร เพื่อทำลายเนื้อเยื่อ หรือบริเวณจุดที่ต้องการรักษาให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายไป ไม่เหมาะกับคนที่มีสีผิวที่เข้ม |
Pico Laser | ใช้รักษาปัญหาผิวต่างๆเช่น การกำจัดเม็ดสี จุดด่างดำ ทำให้เม็ดสีที่ผิดปกติจางลงในทันที พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคลอลาเจนอีลาสตินปรับสีผิวให้กระจ่างใสเป็นเลเซอร์ที่สามารถปล่อยพลังงาน(Power)ที่สูงมากในระดับ Gigawatt ออกมาในช่วงของระยะเวลาการปล่อยแสงเลเซอร์ (Pulse Duration)ที่สั้นมากถึงระดับ Picosecond หรือ 10-12 วินาที หรือ 0.000000000001 วินาที |
ข้อควรระวังก่อน และหลังทำ CO2 Laser
ก่อนทำ CO2 Laser
- งดใช้เครื่องสำอางค์ที่มีส่วนผสมของ กรดไกลโคอิก หรือ กรดเรทิโนอิก สองสัปดาห์ก่อนเข้ารับการรักษา และงดใช้อีก 2 สัปดาห์หลังเข้ารับการรักษาแล้ว
- หากมีการใช้ยาสิว หรือรับประทานยารักษาอยู่ ควรแจ้งให้แพทย์ หรือ ผู้ช่วยทราบ ก่อนเข้ารับบริการ
หลังทำ CO2 Laser
- งดล้างหน้า 1 วันหลังทำเลเซอร์ใช้น้ำเกลือล้างได้ หลังจากนั้นสามารถล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าและใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสูตรอ่อนโยนได้
- งดแต่งหน้าอย่างน้อย 3 วันหลังทำเลเซอร์ หรือจนกว่าสะเก็ดจะหลุด
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ กางร่มเมื่อต้องการออกแดด ทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีการป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB มีค่า SPF30 PA +++ ขึ้นไปเพื่อปกป้องผิว
- งดใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิว Whitening แล ครีมที่มีส่วนผสมของ AHA BHA หรือสารที่มีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิวทำให้เกิดการระคายเคืองทุกชนิด ประมาณ 1 สัปดาห์
- ควรบำรุงผิวหลังทำเลเซอร์ให้มีความชุ่มชื้น
- ช่วงที่แผลตกสะเก็ด ควรปล่อยให้สะเก็ดหลุดไปเอง ห้ามแกะเกาบริเวณสะเก็ด เนื่องจากอาจให้เกิดการติดเชื้อหรือทำให้ผิวบริเวณนั้นมีรอยแดง รอยดำได้
- รวมทั้งไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสครับขัดผิวทุกชนิด
- ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับมาทำเลเซอร์อีกครั้งได้
- อาจหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ระบบภายในของร่างกายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
สรุป
CO2 Laser เป็นเทคโนโลยีกำจัดไฝ ขี้แมลงวัน หูด และติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้น พร้อมทั้งสามารถรักษาหลุมสิวและแผลเป็นได้อีกด้วย แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น รอยแดงหรือสะเก็ดแผล แต่โดยรวมถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและฟื้นตัวได้เร็ว หากคุณกำลังมองหาวิธีดูแลผิวให้เนียนใส CO2 Laser คือตัวช่วยที่ตอบโจทย์ที่สุด