กล้ามเนื้อเยอะ ๆ มีแล้วดีอย่างไร ? ในช่วงเวลานี้การสร้างกล้ามเนื้อถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคภัยในปัจจุบันที่รุนแรงมากขึ้น หากใครเคยเป็นโควิดมาก่อนย่อมรู้ดีว่าหากเป็นแล้วร่างกายจะอ่อนแอลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากคนที่ไม่เคยป่วย ก็ป่วยบ่อยขึ้น ดังนั้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมากนั่นเอง
สารบัญ
กล้ามเนื้อ คืออะไร ?
กล้ามเนื้อ คือ เนื้อเยื่อที่ยืด-หดตัวได้ ซึ่งพบได้ในอวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยพยุงโครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย สารเคมีที่ทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อ* จะช่วยในการสลายไขมันและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรง รวมถึงช่วยในการควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น
ทำไมกล้ามเนื้อจึงสำคัญ ?
กล้ามเนื้อเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลัก ๆ ของร่างกาย คนเรานั้นมีกล้ามเนื้อถึง 600 มัด (40 % ของน้ำหนักตัว) ซึ่งมีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น การบีบตัวของหัวใจ การขยับของอวัยวะต่าง ๆ ในการย่อยอาหาร โดยกล้ามเนื้อในร่างกายจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle/Myocardium)
เป็นกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดลักษณะเฉพาะ คือโครงสร้างเนื้อเยื่อคล้ายกล้ามเนื้อลาย แต่ทำงานเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งพบได้ที่เดียวใน ร่างกาย คือ ที่หัวใจ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานบีบและคลายตัว (เต้น) อยู่ตลอดเวลา
กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)
เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน เช่น กล้ามเนื้อของ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทวารหนัก หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หลอดเลือด มดลูก (ในผู้หญิง) และในบริเวณผิวหนังตรงรูขุมขนที่ทำหน้าที่ทำให้เกิดขนลุก
กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle/Striated Muscle)
มีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำงานประสานกับกระดูกและข้อ ผ่านทางเอ็นกล้ามเนื้อ โดยในผู้ชาย กล้ามเนื้อลายจะคิดเป็นประมาณ 42%ของมวลกายทั้งหมด (Body mass) ส่วนในผู้หญิงจะมีกล้ามเนื้อลายน้อยกว่าผู้ชาย คือ ประมาณ 36% ของมวลกายทั้งหมด
คนมีกล้ามเนื้อมาก กับมีกล้ามเนื้อน้อยเผาผลาญแตกต่างกันอย่างไร?
การมีมวลกล้ามเนื้อมากยิ่งทำให้กระบวนการ Metabolism เผาผลาญสารอาหารโดยเฉพาะไขมันได้มากกว่าคนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้อาหารที่กินเข้าไปจะไม่สะสมแล้วแปรสภาพเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นตัวการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นนั่นเอง
8 ข้อดี ของการมีกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง ?
1. ช่วยเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น
กล้ามเนื้อสามารถช่วยเผาผลาญไขมันได้โดยตรง โดยยิ่งเซลล์กล้ามเนื้อเติบโตมากเท่าใด ร่างกายก็จะเผาผลาญแคลอรี่โดยอัตโนมัติมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น ไม่มีไขมันส่วนเกิน
2. เพิ่มระดับความทนทานในการเล่นกีฬามากขึ้น
การมีกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้ร่างกายลดความตึงเครียดได้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีความกระฉับกระเฉงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม เนื่องจากมีกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นที่ดี
3. ลดความเครียด
ความเครียดมักเกิดจากความเครียดที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อที่ส่งผลมาจากอารมณ์ ซึ่งหากเรามีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อจะทำให้ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หลั่งออกมา เพื่อลดความเครียด จึงทำให้อารมณ์ดีขึ้น
4. ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อพร่อง
ในช่วงอายุ 20-90 ปี คนเราจะเริ่มสูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากร่างกายสูญเสียโครงกล้ามเนื้อมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย
5. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะส่งผลให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายมีความทนทานต่อสภาวะภายนอก รวมถึงเชื้อโรคต่าง ๆ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดจะลดน้อยลง เพราะระดับน้ำตาลกลูโคสและฮอร์โมนอินซูลินอยู่ในระดับที่เหมาะสม
6. สามารถฟื้นฟูบาดแผลได้ดียิ่งขึ้น
เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดที่เป็นภูมิคุ้มกันและใช้รักษาแผลนั้นต้องใช้โปรตีน ซึ่งคนมีกล้ามเนื้อจะมีปริมาณโปรตีนมากทำให้ร่างกายสามารถนำเอาไปใช้ได้ทุกเมื่อ แต่หากคนไม่มีกล้ามเนื้อร่างกายจะนำเอาโปรตีนที่กินในแต่ละวัน ไปสร้างกล้ามเนื้อก่อน จึงทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ และแผลหายช้าลง จึงสังเกตได้ว่าคนมีกล้ามเนื้อแผลจะหายเร็ว เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีกล้ามเนื้อ
7. กระดูกและข้อต่อแข็งแรงขึ้น
กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยรองรับแรงกระแทก มีความยืดหยุ่น ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหายน้อย ช่วยพยุงกระดูกและลดความเสี่ยงเรื่องกระดูกหลุดหรือหักได้ รวมถึงช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เกิดกับกล้ามเนื้อและข้อต่อ บรรเทาอาการปวดหลังปวดไหล่ บ่า คอได้
8. ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ
การมีกล้ามเนื้อจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อจะช่วยส่งเสริมรูปร่างให้ดูดี มีสัดมีส่วนสวยงาม ไม่มีไขมันส่วนเกิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เป็นไปได้ดีขึ้นด้วย
กล้ามเนื้อสร้างได้ด้วยการออกกำลังกาย เท่านั้นหรือไม่ ?
ในปัจจุบันนอกจากการออกกำลังกายแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินก็สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้เรามีกล้ามเนื้อได้ไม่ยาก ซึ่งสามารถเห็นผลได้รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ยังเป็นทางออกในการสร้างกล้ามเนื้อให้กับผู้สูงอายุ หรือผู้เจ็บป่วยที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ให้สามารถได้ประโยชน์เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย
Maximus EMT
นวัตกรรมสร้างกล้ามเนื้อสลายไขมันด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (HIFEM) ด้วยกระบวนการ Apoptosis และกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดตัวแบบ Supramaximal Contraction กล้ามเนื้อสามารถหดตัวได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบปกติ โดยใช้เวลาเพียง 30 นาทีเทียบเท่า Sit-ups, Crunch, Squat 20,000 ครั้ง
ต้องทำบ่อยแค่ไหน ต้องพักฟื้นหรือไม่ ?
ระยะเวลาในการเข้าทำหัตถการควรทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทำ 4-6 สัปดาห์เป็นคอร์สการรักษาที่แนะนำ บางคนจะรู้สึกกล้ามเนื้อตึงหลังทำเสร็จ เพียงนอนหลับพักฟื้น ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติ หลังทำได้ 6 ครั้ง จะเริ่มเห็นผลลัพธ์ชัดเจน
สรุป
การสร้างกล้ามเนื้อถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพยุงสภาวะทางอารมณ์และสภาวะทางร่างกายให้มีความแข็งแกร่ง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บ การสร้างกล้ามเนื้อในปัจจุบันทำได้ง่าย ๆ แม้กับมนุษย์ขี้เกียจที่ไม่ชอบออกกำลังกายก็ทำได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ HIFEM ทำให้สัดส่วนดูกระชับ เฟิร์มเหมือนกับการออกกำลังกายเพียงแต่ให้ผลเร็วกว่าและเหนื่อยน้อยกว่านั่นเอง
ทดลองเครื่อง ฟรี ! พิเศษ ผ่อนชำระ 0%
อย่ารอช้า ! บริษัท Inno Aesthetics Laser ขอมอบสิทธิพิเศษให้สำหรับผู้ที่สนใจ Maximus EMT เทคโนโลยี Hifem ใหม่ล่าสุด! สามารถติดต่อเพื่อขอรับการสาธิตประสิทธิภาพเครื่อง ฟรี ! มาพร้อมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษาตลอดอายุการใช้งาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Email : innoaestheticslaser@gmail.com
Tel : 098-7456-232
Comments